วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สื่อการสอนสำหรับเด็กอนุบาล


เครื่องช่วยเรียนรู้ภาษาไทย
คุณสมบัติของเครื่องช่วยเรียนรู้ภาษาไทย

1. สามารถอ่านบัตรคำ ก - ฮ ให้เด็กฟังได้
2. สามารถอ่านบัตรคำ ตัวเลข 0 - 9 ให้เด็กฟังได้
3. สามารถตอบคำถามการบวกเลข ลบเลขพื้นฐานให้เด็กฟังได้
4. สามารถตั้งโจทย์การเรียงลำดับ ก - ฮ ให้เด็กตอบคำถามได้
5. สามารถตั้งโจทย์การบวกเลข ลบเลขพื้นฐาน ให้เด็กตอบคำถามได้
6. สามารถแจ้งผลการทำแบบทดสอบให้ฟังได้ทันที ทำให้เด็กทราบผลของการตอบคำถามได้
7. สามารถสรุปผลหลังทำแบบทดสอบเป็นเสียงพูดให้ทราบได้ทันที
8. สามารถสอนเด็กท่อง ก - ฮ ได้
9. สามารถสอนเด็กนับเลข 1-10, 1-100 ได้
10. สามารถสอนเด็กท่องสูตรคูณ แม่ 2-12 ได้

**เด็กสามารถสร้างบัตรคำเอง เพื่อใช้งานกับเครื่องได้
**มีสมุดระบายสี พร้อมคัดอักษรภาษาไทย เพื่อสร้างบัตรคำไว้ใช้งานเองได้

"เหมาะสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน อนุบาล และประถมศึกษา เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง" และ "ครูผู้สอนสามารถสร้างกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ ร่วมกับเครื่องได้หลากหลายกิจกรรม"

ลักษณะการทำงานของเครื่องช่วยเรียนรู้ภาษาไทย
1. การอ่านบัตรคำ ก - ฮ ให้เด็กฟัง เด็กหยิบบัตรคำอักษร ก - ฮ หย่อนใส่ในช่องอ่านบัตร เครื่องอ่าน ออกเสียงอักษรให้เด็กฟัง เด็กจะทราบอักษร ก - ฮ จากบัตรคำ และอ่านออกเสียงตามได้ถูกต้อง
2. การอ่านบัตรคำ ตัวเลข 0 - 9 ให้เด็กฟัง เด็กหยิบบัตรคำตัวเลข 0 - 9 หย่อนใส่ในช่องอ่านบัตร เครื่องอ่าน ออกเสียงตัวเลขให้เด็กฟัง เด็กจะทราบตัวเลข
0 - 9 จากบัตรคำ และอ่านออกเสียงตามได้ถูกต้อง
3. การตอบคำถามการบวกเลข ลบเลขพื้นฐานให้เด็กฟัง เมื่อเด็กต้องการทราบผลของการบวก และผลของการลบเลข ทำได้โดย (บัตรคำตัวเลข + เครื่องหมาย + บัตรคำตัวเลข = ? ) เด็กหยิบบัตรคำเลข 1 หย่อนใส่ในช่องอ่านบัตร ตามด้วยบัตรคำเครื่องหมาย + ตามด้วยบัตรคำเลข 2 จากนั้นเครื่องจะอ่านออกเสียงผลลัพธ์ให้เด็กฟัง ในที่นี้เท่ากับ 3
4. การตั้งโจทย์การเรียงลำดับ ก - ฮ ให้เด็กตอบคำถาม เมื่อต้องการทดสอบความจำ อักษร ก - ฮ ที่เรียนมาแล้ว โดยหยิบ บัตรคำ “แบบฝึกหัด” หย่อนใส่ช่องอ่านบัตร เครื่องอ่านออกเสียงแบบฝึกหัด ตามด้วยอักษรในแบบฝึกหัดนั้นๆ ให้เด็กหยิบบัตรคำอักษร ที่เครื่องบอก เพื่อหย่อนใส่ในช่องอ่านบัตรคำ ให้ถูกต้อง เมื่อเด็กหย่อนบัตรคำตรงตามที่เครื่องต้องการ เครื่องจะออกเสียงว่า “ถูกค่ะ” ถ้าหากผิด เครื่องก็จะออกเสียงว่า “ผิดค่ะ” พร้อมกันนั้นเครื่องจะอ่านออกเสียงอักษรตัวต่อไป ให้เด็กหยิบบัตรคำนั้นใส่ให้ถูกต้อง
5. การตั้งโจทย์การบวกเลข ลบเลขพื้นฐาน ให้เด็กตอบคำถาม มีลักษณะการทำงานคล้ายกับข้อ 4 ตัวอย่างเช่น เด็กนำบัตรคำแบบฝึกหัดหย่อนใส่เครื่อง เครื่องอ่านออกเสียงแบบฝึกหัด 1+2 = ? เด็กตอบคำถาม โดยหาบัตรคำที่เป็นคำตอบ (3) หย่อนใส่ช่องอ่านบัตร ถ้าถูก เครื่องออกเสียง “ถูกค่ะ” ถ้าหากผิด เครื่องก็จะออกเสียงว่า “ผิดค่ะ”
6. การแจ้งผลการทำแบบทดสอบให้ฟัง เด็กสามารถทราบได้ทันที ว่าบัตรคำที่หย่อนไปนั้น ถูกต้องหรือไม่ เพื่อจะได้แก้ไขได้ในทันที และเกิดความเข้าใจสิ่งที่ถูกต้อง
7. การสรุปผลหลังทำแบบทดสอบเป็นเสียงพูดให้ทราบได้ทันที เมื่อเด็กทำแบบฝึกหัดเสร็จในแต่ละแบบฝึกหัด เครื่องจะสรุปผล การเรียนรู้ให้ครู/ผู้ปกครองทราบเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ทันที เด็กสามารถทราบผลการเรียนรู้ เพื่อการเสริมแรงให้กับเด็ก โดยเครื่องช่วยเรียนรู้ภาษาไทยนี้มีแบบฝึกหัดให้เลือกทำหลายบทด้วยกัน
8. การสอนเด็กท่อง ก - ฮ เด็กหยิบบัตรคำคุณครูสอนท่อง ก - ฮ หย่อนใส่ในช่องอ่านบัตรคำ เครื่องจะอ่านออกเสียงท่อง ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ..... ฮ เด็กฟังและสามารถท่องตามได้ด้วย
9. การสอนเด็กนับเลข 1-10, 1-100 เด็กหยิบบัตรคำคุณครูสอนนับเลข 1-10 หย่อนใส่ในช่องอ่านบัตรคำ เครื่องจะอ่านออกเสียงนับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 เด็กฟังและสามารถนับเลขตามได้ เด็กหยิบบัตรคำคุณครูสอนนับเลข 1-100 หย่อนใส่ในช่องอ่านบัตรคำ เครื่องจะอ่านออกเสียงนับ 1 2 3 ….100 เด็กฟังและสามารถนับเลขตามได้
10. การสอนเด็กท่องสูตรคูณ แม่ 2-12 เด็กหยิบบัตรคำคุณครูสอนท่องสูตรคูณ แม่ 2-12 หย่อนใส่ในช่องอ่านบัตรคำ เครื่องจะอ่านออกเสียงท่องสูตรคูณ แม่ 2-12 เด็กฟังและสามารถท่องตามได้


อ้างอิง http://www.Thaiamp.com/

6 ความคิดเห็น:

  1. ..เนื้อหาน้อยไปรึป่าวครับท่าน
    เจง..เจง..นะ

    ตอบลบ
  2. kampong...
    ดีค่ะ...ตรงกับตอนนี้เลยกำลังเรียนอยู่พิดี
    สุดยอด.........จริงๆๆๆ

    ตอบลบ
  3. เห็นด้วยน่าจะนำมาใช้.....น่าสนุกดี

    ตอบลบ
  4. สุดยอดมากเลยครับ...โปรมแกรมอะไรครับเนี่ย

    ตอบลบ